เมนู

หลังนั่นแล แต่ถือเอาในที่นี้อีกด้วยสามารถแห่งธรรมยุคนัทธะ (ธรรมเนื่อง
กันเหมือนแอก).
ธรรมที่ชื่อว่า ปัคคาหะ เพราะประคองสหชาตธรรม. ที่ชื่อว่า
อวิกเขปะ เพราะความไม่ฟุ้งซ่านโดยปฏิปักษ์ต่อความฟุ้งซ่าน คือ อุทธัจจะ
ธรรมมีลักษณะเป็นต้น แม้แห่งธรรมทั้ง 2 นี้ กล่าวไว้แล้วในหนหลังนั่นแหละ
ก็ธรรมทั้ง 2 นี้ พึงทราบว่าถือเอาในที่นี้เพื่อการประกอบวิริยะและสมาธิแล.

อธิบายคำว่า เยวาปนกนัย



คำว่า เยวาปน ตสฺมึ สมเย อญฺเญปิ อตฺถิ ปฏิจฺจสมุปฺปนฺนา
อรูปิโน ธมฺมา อิเม ธมฺมา กุสลา
(ก็หรือว่า ในสมัยนั้น ธรรมที่มิใช่
รูป ซึ่งอาศัยกันและกันเกิดขึ้น แม้อื่นใดมีอยู่ ธรรมเหล่านี้ชื่อว่า กุศล)
พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
กุศลธรรมเกิน 50 (ปโรปณฺณาสธมฺมา) เหล่านี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงยกขึ้นแสดงโดยลำดับว่า ผัสสะย่อมมี ฯลฯ อวิกเขปะย่อมมีอย่างเดียว
ก็หาไม่ โดยที่แท้ทรงแสดงว่า ในสมัยใด มหาจิตเป็นอสังขาริก ดวงที่หนึ่ง
สหรคตด้วยโสมนัสสติเหตุกะฝ่ายกามาวจรย่อมเกิดขึ้น ในสมัยนั้น ธรรมแม้
เหล่าอื่นที่เป็นเยวาปนกธรรม ที่สัมปยุตด้วยธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ มีผัสสะ
เป็นต้น ซึ่งอาศัยปัจจัยอันสมควรแก่ตน ๆ เกิดขึ้น ชื่อว่า อรูป เพราะความ
ไม่มีรูป ซึ่งกำหนดได้โดยสภาวะ ธรรมเหล่านั้นแม้ทั้งหมดเป็นกุศล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ธรรมราชาครั้นแสดงธรรมเกิน 50 ที่ยกขึ้นไว้ใน
บาลีด้วยอำนาจแห่งส่วนประกอบของจิตด้วยพุทธพจน์มีประมาณเท่านี้แล้วจึง
ทรงแสดงธรรม 9 อย่าง แม้อื่นอีกด้วยสามารถแห่งเยวาปนกธรรม. จริงอยู่
บรรดาบทพระสูตรเหล่านั้น ๆ ธรรม 9 เหล่านี้ย่อมปรากฏ คือ